เมนู

วิเศษเหล่านี้ คือปฏิสัมภิทาสี่ วิโมกข์แปดและอภิญญา
หก ข้าพเจ้าทำให้แจ้งแล้ว ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติคำสอน
ของพระพุทธเจ้าแล้ว.

ครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว นางสิกขมานามุตตา นั้น ได้เปล่งคาถา
นั้นแล. บทว่า สิกฺขมานา ได้แก่ ผู้มีสิกขาบริบูรณ์. ต่อมา นางได้กล่าว
คาถานั้นแหละในเวลาปรินิพพานแล.
จบ อรรถกถามุตตาเถรีคาถา

3. ปุณณาเถรีคาถา


[404] ดูก่อนนางปุณณา เธอจงเต็มด้วยธรรม
ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์วันขึ้น 15 ค่ำ เธอจง
ทำลายกองแห่งความมืดด้วยปัญญาอันบริบูรณ์เถิด.

จบปุณณาเถรีคาถา

3. อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา


คาถาว่า ปุณฺเณ ปูรสฺสุ ธมฺเมหิ เป็นต้น เป็นคาถาสำหรับนาง
สิกขมานาชื่อปุณณา.
นางสิกขมานาชื่อปุณณาแม้นี้ ก็สร้างสมบุญบารมีไว้ในพระพุทธเจ้า
องค์ก่อน ๆ สั่งสมกุศลที่เป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานไว้ในภพนั้น ๆ เมื่อ
โลกว่างพระพุทธเจ้า บังเกิดในกำเนิดกินนร ที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา วันหนึ่ง

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งในที่นั้น มีใจเลื่อมใส บูชาพระปัจเจกพุทธ-
เจ้านั้นด้วยดอกอ้อ ยืนประคองอัญชลี ด้วยบุญกรรมนั้น นางท่องเที่ยวอยู่ใน
สุคติภูมิทั้งหลายเท่านั้น ในพุทธุปปาทกาลนี้บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล
กรุงสาวัตถี มีชื่อว่าปุณณา เพราะเป็นหญิงถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย นางอยู่มา
อายุ 20 ปี ฟังธรรมในสำนักของพระมหาปชาบดีโคตมี ได้ศรัทธาขอบรรพ-
ชาเป็นสิกขมานา เริ่มวิปัสสนา.
พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั้นเอง ทรงเปล่งพระรัศมี
ตรัสพระคาถานี้แก่เธอว่า
ดูก่อนนางปุณณา เธอจงเต็มไปด้วยธรรม
ทั้งหลาย เหมือนพระจันทร์วันขึ้น 15 ค่ำ เธอจง
ทำลายกองแห่งความมืด ด้วยปัญญาอันบริบูรณ์เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺเณ เป็นคำเรียกนางสิกขมานานั้น.
บทว่า ปูรสฺสุ ธมฺเมหิ ความว่า จงบริบูรณ์ด้วยโพธิปักขิยธรรม 37.
อักษรในบทว่า จนฺโท ปณฺณรเสริว ทำหน้าที่เชื่อมบทเหมือนพระจันทร์
บริบูรณ์ด้วยส่วนที่ 16 ของเดือนทั้งหมด ในวันขึ้น 15 ค่ำ คือในวันเดือน
เพ็ญ. บทว่า ปริปุณฺณาย ปญฺญาย ได้แก่ ด้วยปัญญาที่สัมปยุตด้วย
อรหัตมรรค ชื่อว่าบริบูรณ์ เพราะทำกิจ 16 อย่างให้สนบูรณ์. บทว่า
ตโมกฺขนฺธํ ปทาลย ความว่า จงทำลาย คือจงถอนกองโมหะโดยไม่เหลือ
กิเลสทั้งหมดย่อมเป็นอันทำลายแล้วพร้อมกับการทำลายกองโมหะนั่นแล.
นางสิกขมานาปุณณานั้น ฟังคาถานั้นแล้วเจริญวิปัสสนาได้บรรลุ
พระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในอปทานว่า1
1. ขุ. นฬมาลิกาเถรีอปทาน เล่ม 33 ข้อ 145.

ในกาลนั้นข้าพเจ้าเป็นกินรีที่ฝั่งแม่น้ำจันทภาคา
ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี เป็นพระ-
สยัมภู ผู้อันใคร ๆ ให้แพ้ไม่ได้ ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส
มีใจดี ปลื้มใจ กระทำอัญชลีถือเอาดอกอ้อบูชาพระ-
สยัมภู ด้วยกรรมที่ทำดีนั้น และด้วยความตั้งใจมั่น
ข้าพเจ้าละร่างกินรี ได้ไปสู่หมู่เทวดาชั้นไตรทศ
ข้าพเจ้าได้เป็นมเหสีของเทวราช 36 องค์ ได้เป็น
มเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ 10 องค์ ข้าพเจ้ารู้บุญ
กุศลบวชเป็นบรรพชิต ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ภพ
ทั้งหมดข้าพเจ้าถอนได้แล้วอาสวะทั้งหมดสิ้นรอบแล้ว
บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี จากนี้ไป 94 กัป ข้าพเจ้าเอา
ดอกไม้บูชา ข้าพเจ้าไม่รู้จักทุคติ นี้เป็นผลแห่งการ
บูชาพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าเผากิเลสแล้ว ฯลฯ ข้าพเจ้า
ได้ปฏิบัติคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว.

พระเถรีนั้นบรรลุพระอรหัตแล้วเปล่งคาถานั้น และคาถานี้ได้เป็น
คาถาพยากรณ์พระอรหัตของพระเถรีนั้นแล.
จบ อรรถกถาปุณณาเถรีคาถา

4. ติสสาเถรีคาถา


[405] ดูก่อนติสสา เธอจงศึกษาในไตรสิกขา
โยคะกิเลสเครื่องประกอบทั้งหลายอย่าได้ครอบงำเธอ
เธอจงพรากจากโยคะทั้งหมด เป็นผู้ไม่มีอาสวะเที่ยวไป
ในโลก.

จบ ติสสาเถรีคาถา